ไม้สัก
- ใบนำมาต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาลดระดับน้ำตาลในเลือด (ใบ)
- เนื้อไม้และใบมีรสเผ็ดเล็กน้อย สรรพคุณเป็นยาบำรุงโลหิต (เนื้อไม้,ใบ)
- ใบมีรสเผ็ดเล็กน้อย มีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษโลหิต (ใบ)
- ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย (เนื้อไม้)
- เปลือกไม้มีสรรพคุณแก้อาการปวดศีรษะ (เปลือกไม้)
- เมล็ดใช้เป็นยารักษาโรคตา (เมล็ด)
- ใบใช้ทำเป็นยาอมแก้เจ็บคอ (ใบ)
- ช่วยแก้ไข้ คุมธาตุในร่างกาย (เนื้อไม้)
- เนื้อไม้ใช้รับประทานเป็นยาขับลมได้ดีมาก ส่วนใบก็มีสรรพคุณเป็นยาขับลมเช่นกัน (เนื้อไม้,ใบ)
- เนื้อไม้มีสรรพคุณเป็นยาขับพยาธิ (เนื้อไม้)
ประโยชน์ของสัก
- ไม้สักเป็นไม้ที่เราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายรูปแบบตามอายุและขนาดของไม้ ตั้งแต่ไม้ซุงขนาดใหญ่ ที่นำมาแปรรูปใช้ในการก่อสร้างอาคาร บ้านเรือน ไม้อัด ไม้ปาร์เก้ ไม้แกะสลัก เฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ หรือใช้ต่อเรือ รถ ทำเครื่องมือกสิกรรม ฯลฯ ส่วนไม้ซุงขนาดเล็กลงมาก็สามารถนำมาทำบ้านไม้ซุงได้อย่างสวยงามและคงทน หรือจะนำมาผ่าซีกทำไม้โมเสด วงกบประตู และหน้าต่างได้ดี ซึ่งเป็นที่นิยมกันมาก เนื่องจากมีเนื้อไม้มีลวดลายที่สวยงาม เห็นเส้นวงปีได้ชัดเจน เนื้อไม้มีความแข็งปานกลางและทนทาน เลื่อย ผ่า ไสกบตกแต่งได้ง่าย และชักเงาได้ดี ปลวก มอด ไม่ชอบทำลายเพราะมีสารเทคโทควิโนน (Tectoquinone) ทำให้มีคุณสมบัติคงทนต่อปลวก แมลง เห็ดราขึ้นได้ดี[2],[5]
- นอกจากนี้ไม้สักทองยังมีทองคำปนอยู่ 0.5 ppm. โดยไม้สักทอง 26 ต้น จะมีทองคำหนัก 1 บาท[5]
- ในด้านความเป็นมงคล สักทองจัดเป็นไม้มงคลนาม เพราะคนไทยโบราณเชื่อว่าหากบ้านปลูกต้นสักทองไว้เป็นไม้ประจำบ้าน จะทำให้มีศักดิ์ศรี เพราะคำว่า "สัก" หรือ "ศักดิ์" หมายถึง การมีศักดิ์ศรี มีเกียรติศักดิ์ มียศถาบรรดาศักดิ์ นอกจากนี้คำว่า "สัก" หรือ "สักกะ" ยังหมายถึง พระอินทร์ผู้มีอำนาจยิ่งใหญ่ในสวรรค์ โดยตำแหน่งที่ปลูกเพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อยู่อาศัย ให้ปลูกต้นสักทองไว้ทางทิศเหนือของบ้าน และควรปลูกในวันเสาร์ เพราะคนโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุฯให้ปลูกในวันเสาร์ และถ้าจะให้เป็นมงคลมากยิ่งขึ้น ผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญ่ที่มีผู้เคารพนับถือและเป็นผู้ประกอบคุณงามความดี ก็จะเป็นสิริมงคลยิ่งนัก[4]